วันพุธที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ลักษณะทั่วไปของเม็ดแมงลัก

ลักษณะทั่วไปของเม็ดแมงลัก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.f. var. citratum Back.
วงศ์ : Labiatae
ชื่อสามัญ Hairy Basil
ชื่ออื่น มังลัก (ภาคกลาง) กอมก้อขาว (ภาคเหนือ) ผักอีตู่  (เลย)

ลักษณะทั่วไป :
แมงลักมีลักษณะทรงต้น ใบ ดอก และผลคล้ายโหระพา ต่างกันที่กลิ่น ใบสีเขียวอ่อนกว่า กลีบดอกสีขาวและใบประดับสีเขียว
ต้น เป็นไม้ล้มลุก ขนาดเล็ก ลำต้นสูงประมาณ  2-3 ฟุต โคนลำต้นแข็ง ลำต้นแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม
ใบ เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบกลมรี ปลายใบแหลม มีสีเขียวอ่อน มีขนนิ่ม กลิ่นใบหอม
ดอก ออกเป็นช่อ ตามบริเวณปลายกิ่ง หรือยอด ดอกมีลักษณะเป็นกลีบสีขาว ดอกจะคงทน และอยู่ได้นาน
ผล เมื่อกลีบดอกร่วง ก็จะเป็นผล ผลมีขนานเล็ก มีสีน้ำตาลเข้ม ภายในผลมีเมล็ดอยู่ 4 เมล็ด

การขยายพันธุ์          
ขยายพันธุ์ด้วยการใช้ เมล็ด


ประโยชน์ทางสมุนไพร 
ตำรายาไทยมักเรียกผลแมงลักว่าเม็ดแมงลัก ใช้เป็นยาระบายชนิดเพิ่มกาก เพราะเปลือกผลมีสารเมือกซึ่งสามารถพองตัวในน้ำได้ 45 เท่า เหมาะสำหรับ ผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารที่มีกากเช่น ผัก ผลไม้ ใช้ผลแมงลัก 1-2 ช้อนชา แช่น้ำ แก้ว จนพองตัวเต็มที่ กินก่อนนอน ถ้าผลแมงลักพองตัวไม่เต็มที่จะทำให้ท้องอืดและอุจจาระแข็ง จากการทดลองพบว่าแมงลักทำให้จำนวนครั้งในการถ่ายและปริมาณอุจจาระเพิ่มขึ้น รวมทั้งทำให้อุจจาระอ่อนตัวกว่าปกติ นอกจากนี้ใบและต้นสดมีฤทธิ์ขับลม เนื่องจากมีน้ำมันหอมระเหย


สรรพคุณ
ลำต้น : ตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ และแก้โรคทางเดินท้องร่วง หรือใช้กากใบที่ตำทาแก้โรคผิวหนังทุกชนิดใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยาแก้ไอ ขับเหงื่อ ขับลม กระตุ้น และแก้โรคทางเดินอาหาร เป็นต้น
ใบ : ใช้ลำต้นสด นำมาต้มเอาน้ำดื่ม เป็นยา แก้ไอ ขับเหงื่อ ขับลม กระตุ้น และแก้โรคทางเดินอาหาร ใช้ใบสด นำมาตำให้ละเอียดคั้นเอาน้ำกิน เป็นยาแก้หวัด แก้หลอดลมอักเสบ แก้โรคท้องร่วง หรือใช้กากใบที่ตำทาแก้โรคผิวหนังทุกชนิด
เมล็ด : ใช้เมล็ดแห้ง เมื่อนำมาแช่น้ำจะเกิดการพองตัวแล้วใช้กินเป็นยาระบาย ลดความอ้วน ช่วยดูดซึมน้ำตาลในเส้นเลือด ขับเหงื่อ และช่วยเพิ่มปริมาณ ของอุจจาระเป็นเมือกกลืนในลำไส้

---------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น